Internet 9 Wireless Wifi Hotspot Isp Brodband Download HI Speed infastucture WCDMA GPS ADSL VOICE OVER IP CALL

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เนคเทคเผยนักเซร์ฟอินเตอร์เน็ตไทย นิยมเขียนบล็อกมากขึ้น

เนคเทคเผยคนไทยนิยมเขียนบล็อกมากขึ้น
โดย ผู้จัดการออนไลน์
13 ตุลาคม 2551 10:37 น.

เนคเทคเผยผลสำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยปี 2551 จากตัวอย่าง 14,809 คน พบคนไทยนิยมเขียนบล็อก ใช้สังคมออนไลน์มากขึ้น และมีการใช้งานร้านอินเทอร์เน็ตลดลงเป็นจำนวนมาก แต่หันไปใช้งานที่บ้านผ่านมือถือ และ ADSL มากขึ้น ส่วนปัญหาสำหรับคนใช้อินเทอร์เน็ตอันดับหนึ่งยังเป็นไวรัส รองลงมาเป็นแหล่งยั่วยุทางเพศ ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค เปิดเผยว่า จากการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2551 มีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามประจำปี 2551 ทั้งหมด 14,809 คน และมีคำถามพิเศษถึงการใช้สังคมออนไลน์ (Social networking) โดยมีผลการสำรวจที่น่าสนใจสรุปได้ดังนี้ 1.พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตต่างจากปีก่อนๆ คือปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตจากแต่ละสถานที่ สัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตจากที่ทำงานและที่บ้านมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ขณะที่การใช้จากร้านบริการอินเทอร์เน็ตลดลงค่อนข้างมาก สำหรับรูปแบบในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นที่น่าสังเกตว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ADSL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด การซื้อสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต พบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก โดยการสั่งจองบริการต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น ตั๋วภาพยนตร์ โรงแรม ยังคงได้รับความนิยมในอัตราที่สูง กิจกรรมที่ทำบนอินเทอร์เน็ต ผู้ตอบแบบสอบถามในปีนี้ให้ความสำคัญกับการติดตามข่าว การเขียนบล็อกและการฟังเพลงผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น แต่การค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตยังคงเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 2.พฤติกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ยังไม่แตกต่างจากการสำรวจในปีก่อนๆ คือ ช่วงเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่ผู้ตอบยังระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในช่วงเวลา 20.01 น.-24.00 น. ปัญหาที่พบจากการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ปัญหาเรื่องไวรัสยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับหนึ่ง รองลงมาคือการมีแหล่งยั่วยุทางเพศโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลมีผู้ตอบเป็นลำดับสามลดลงจากปีที่ผ่านมา 3.พฤติกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย คือ เหตุผลที่ไม่ซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ตอบแบบสอบถามในปีนี้ระบุว่าการไม่ไว้ใจผู้ข่ายเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ไม่ซื้อสินค้า สำหรับประเด็นทางด้านอินเทอร์เน็ตที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นลำตับต้นๆ ได้แก่ ประเด็นเรื่องไวรัสและการรักษาความมั่นคงของเครือข่ายเป็นประเด็นที่ผู้ตอบได้ให้ความสำคัญเป็นลำตับต้นๆ ซึ่งจะสอบคล้อกับปัญหาที่พบจากการใช้อินเทอร์เน็ต รองลงมาคือการกระจายความทั่วถึงของการบริการอินเทอร์เน็ต และการป้องกันแก้ไขปัญหาการเผยแพร่สื่อลามกอนาจารบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งแตกต่างจากปีก่อนที่การป้องกันและแก้ไขปัญหาการหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ตและอาชญากรรมอิเล็กทรอนิกส์มีผู้ตอบมากเป็นลำดับสาม 4.พฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในปีนี้มีบล็อกเป็นของตนเองมากถึงร้อยละ 69.7 โดยวัตถุประสงค์ของการใช้บล็อกของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคือการค้นหาข้อมูล การเขียนบันทึกและบทความสำหรับกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตที่เคยทำร่วมกันระหว่างเครือข่ายเพื่อนที่สนใจในเรื่องเดียวกันมากที่สุด คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ รองลงมาคือแลกเปลี่ยนรูปภาพและคลิปวิดีโอ ส่วนบริการที่ไม่เคยทำมากที่สุดคือการแพร่ภาพวิดีโอออนไลน์ (Broadcasting) ขณะที่เว็บไซต์สังคมออนไลน์ยอดนิยม คือ Hi5 และ Wikipedia โดยผู้ที่ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี และผู้หญิงมีแนวโน้มในการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และแลกเปลี่ยนรูปภาพมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายมีแนวโน้มในกิจกรรมหาเพื่อนใหม่ผ่านอินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มผู้หญิง สำหรับเหตุผลหลักที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้เหตุผลในการใช้สังคมออนไลน์ คือเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ รองลงมาคือแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สังคมออนไลน์ พบว่า ผู้ตอบแบนสอบถามส่วนใหญ่เห็นควรมีนโยบายการกำกับดูและการใช้บริการเว็บไซต์สังคมออนไลน์โดยให้เหตุผลว่าเพื่อรักษาความปลอดภัยของเยาวชนไทย ดร.พันธ์ศักดิ์กล่าวว่า แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในปีหน้า จะมีการขยายตัวของการใช้สังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น บล็อก เว็บไซต์ประเภทสังคมออนไลน์ หรือแม้แต่สารานุกรมต่อยอด เช่น วิกิพีเดีย อันจะนำมาซึ่งการสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิตอลของไทยอีกมาและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอุดมปัญญาของประเทศในอนาคต จึงเป็นความท้าทายของทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อมเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ในการกระตุ้นและพัฒนาให้เกิดการสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิตอลที่มีคุณภาพ รวมถึงการกำกับดูแลความเหมาะสมของเนื้อหาดิจิตอล โดยไม่ให้กระทบต่อการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของภาคประชาชน และให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนภายในประเทศ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


View My Stats